วันเสาร์ที่ 22 สิงหาคม พ.ศ. 2558

Diary notes
No. 2
Tuesday 18 August 2558
Summary of academic science experiences for children
สรุปการเรียนวิชาการจัดประสบการณ์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Gain skills  (ทักษะที่ได้รับ)

  บทความเกี่ยวกับการเรียนรู้วิทยาศาสตร์สำหรับเด็ปฐมวัย

Adoption Techniques (การนำไปใช้)

    การสืบค้นและนำหลักหรือความหมาย เทคนิค วิธีการเรียนการสอนมาเป็นแนวปฏิบัติหรือ ตัวอย่างการสอน

Teaching Techniques (เทคนิคการสอน)

    มีการอธิบายแนวทางการค้นหา  การสืบค้นข้อมูล การนำเสนองานในครั้งถัดไป

Teaching evaluation (ประเมินการสอน)

    อาจารย์มีการว่างแผนรูปแบบหรือแนวการสอนมาล่วงหน้า มีการเตรียมตัวที่ดี มีการสั่งงานที่เข้าใจง่าย

Support Agency (หน่วยงานสนับสนุน)


                   บทความ  แนวทางสอนคิด เติม วิทย์ ให้เด็กอนุบาล

       แท้จริงแล้ววิทยาศาสตร์คือ ความพยายามของมนุษย์ที่จะเรียนรู้และทำความเข้าใจกับสิ่งรอบตัวและตัวตนของตัวเอง ซึ่งความพยายามเช่นนี้จะติดตัวกับมนุษย์เรามาตั้งแต่เกิดเห็นได้จากธรรมชาติของเด็กที่มีความอยากรู้อยากเห็น ช่างสังเกตและคอยซักถามเกี่ยวกับสิ่งต่างๆที่พวกเขาเจอและบางครั้งก็เป็นคำถามที่อยากเกินกว่าที่ผู้ใหญ่จะให้คำตอบ

       ทั้งนี้การส่งเสริมพัฒนาการของเด็กปฐมวัยในด้านวิทยาศาสตร์นั้นอาจไม่จำเป็นต้องแยกออกมาสอนเป็นวิชาวิทยาศาสตร์ และอาจไม่ต้องกล่าวถึงคำว่าวิทย่ศาสตร์เมื่อให้เ็กทำกิจกรรมเลยด้วยซ้ำ เพียงแต่ครูปฐมวัยควรตระหนักรู้ว่ากิจกรรมที่จัดให้กับเด็กๆในแต่ละช่วงเวลานั้นเป็นการส่งเสริม ทักษะและแนวคิดทางวิทยาศาสตร์อะไรให้กับเด็กและควรจัดกิจกรรมอย่างไรเพื่อจะสามารถตอบสนองและต่อยอดธรรมชาติการเรียนรู้ของเด็กได้อย่างเป็นระบบ เพื่อที่จะสามารถจัดการเรียนรู้ได้สอดคล้องกับความสามารถของเด็ก รวมถึงต้องอย่าลืมเรื่องของจิตนาการที่มีอยู่สูงในเด็กวัยนี้
      นอกจากนี้ ดร.เทพกัญญายังได้ให้แนวทางในการ สืบเสาะความรู้ทางวิทยาศาสตร์สำหรับเด็ก อันประกอบแนวทางการปฏิบัติ 5 ข้อดังนี้

      1. ตั้งคำถามที่เด็กสามารถตรวจสอบได้ด้วยตัวเอง เช่น คำถามเกี่ยวกับสิ่งแวดล้อมรอบๆ ตัว หรือโลกของเรา
      2.ออกไปหาคำตอบด้วยกัน เนื่องจากคำถามในระดับเด็กอนุบาลมักจะเปิดกว้าง ดังนั้นการค้นหาคำตอบอาจมีคุณครูคอยช่วยจัดประสบการณ์ให้เด็กตามที่เขาตั้งขึ้น
      3. เมื่อขั้นสองสำเร็จ เด็กจะเอาสิ่งที่เขาค้นพบมาไปตอบคำถามของเขาเอง ในขั้นนี้คุณครูอาจช่วยเสริมในแง่ของความครบถ้วนสมบูรณ์หรือในด้านของเหตูและผล
      4.  นำเสนอสิ่งที่เขาสำรวจตรวจสอบมาแล้วให้กับเพื่อนๆ
      5. การนำสิ่งที่เด็กค้นพบคำตอบนั้นไปเชื่อมโยงกับคำอธิบายทางวิทยาศาสตร์


   ที่มา  http://www.sahavicha.com/?name=article&file=readarticle&id=2500

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น