วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2558

Diary Notes.
No. 10
Tuesday 20  September 2558
Summary of academic science experiences for children.
สรุปการเรียนการจัดประสบการวิทยาศาสตร์วิทยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย

Gain Skills ทักษะที่ได้รับ

  นำเสนองานวิจัย
     - เลขที่ 11 เรื่อง ทำอาหารกิจกรรมส่งทักษะทางวิยาศาสตร์สำหรับเด็กปฐมวัย
     - เลขที่ 12เรื่อง เรียนรู้ อยู่รอด

  นำเสนอของเล่น 3 ชิ้น (งานกลุ่ม)
       - ของเล่นที่เด็กสามารถทำเองได้ : เรือน้อยลอยไป
       - ของเล่นที่เข้ามุม : จับคู่เสียง
       - ของเล่นที่เป็นการทดลอง : จรวดลูกโป่ง

1.ของเล่นที่เด็กสามารถทำเองได้ : เรือน้อยลอยไป

อุปกรณ์
           1.ฟองน้ำ
           2. ไม่ไอติม
           3.สก็อตเทป
           4.คัตเตอร์
           5.กระดาษสีแบบแข็ง
           6.กรรไกร

                             วิธีทำ

1.นำฟองน้ำมาตัดเป็นรูปบ้าน




2.เจาะรูตรงกลางให้สามารถเสียบไม้ไอติมได้



3.นำสะก็อตเทปและกระดาษสีมาติดไม้ไอติมทำเป็นเรือใบ


4.นำเรือใบมาเสียบติดกับฟองน้ำ

ประสบการ์ที่เด็กจะได้รับ
          การที่วัตถุสามารถลอยตัวอยู่ในน้ำได้ เนื่องจากวัตถุมีความหนาแน่นน้อยกว่าน้ำ และน้ำมีแรงดัน จึงสามารถลอยวัตถุให้ขึ้นมา โดยแรงนี้เรียกว่าแรงลอยตัวหรือแรงพยุง ซึ่งจะขึ้นอยู่กับปริมาณของน้ำที่ถูกวัตถุนั้นแทนที่ ยิ่งวัตถุมีพื่นที่ใกล้กับน้ำมากเท่าไหร่ หรือเข้าไปแทนที่น้ำได้มาก ความหนาแน่นของวัตถุจะลดลงและแรงลอยตัวจะเพิ่มขึ้น วัตถุจึงลอยตัวในน้ำได้


2.ของเล่นเข้ามุม : จับคู่เสียง


อุปกรณ์
          1. ขวดยาคูลท์และขวดนมเปรี้ยว
          2. ข้าวสาร
          3.ลูกปัด
          4.กระดม
          5.ถั่วเขียว
          6.สก็อตเทป
          7. กาว 
          8.กรรไกร

วิธีการทำ
1.นำขวดนมเปรี้ยวและขวดยาคูลท์ใส่ข้าวสาร ลูกปัด กระดุม และถั่วเขียวให้ครบทุกขวด

2.ปิดฝาขวดยาคูลท์และขวดนมเปรี้้ยวด้วยส๊อตเทปให้เรียบร้อย

3.ทำกล่องใส่สำหรับอุปกรณ์

4.นำกระดาษสีมาตกแต่งให้สวยงาม

ประสบการณ์ที่เด็กจะได้รับ
           เสียงเกิดจากการสั้นสะเทือนของวัตถุ ที่เสียงมีความแตกต่างกันเพราะวัตถุข้างในมีขนาดที่แตกต่างกัน เด็กจะได้เรียนรู้ทางด้านสติปัญญาเรื่องการเปรียบเทียบของเสียง และสามารถจับคู่เสียงได้


3.ของเล่นที่เป็นการทดลอง : จรวดลูกโป่ง


อุปกรณ์
        1. หลอด 
        2.ลูกโป่ง
        3.เชือก
        4.คลิปหนีบ
        5.สก็อตเทป

วิธีการทำ

1.นำเชือกร้อยเข้าไปในหลอด



2.เป่าลูกโป่ง

3.นำลูกโป่งที่เป่าไว้มาติดกับหลอดใช้สก็อตเทปเป็นตัวเชื่อม
4.ให้คนสองคนเชือกทั้งสองฝั่ง คนที่จับลูกโป่งทำการปลอยลูกโป่ง


ประสบการณ์ที่เด็กจะได้รับ
         ลมที่เป่าเข้าไปในลูกโป่ง จะกลายเป็นพลังงานที่เก็บสะสมไว้ เมื่อพลังงานศักย์ที่เราเป่าลมเก็บไว้ในลูกโป่งและเมื่อเราทำการปล่อยลูกโป่ง พลังงานที่สะสมเก็บไว้จะกลายเป็นพลังงานจลน์ ทำให้ลูกโป่งเกิดการเคลื่อนที่



ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น